5 สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการประกันภัยงานศิลปะที่นักสะสมทุกคนควรรู้

March 6, 2024
5 สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการประกันภัยงานศิลปะที่นักสะสมทุกคนควรรู้

การได้สะสมงานหลากหลายชิ้นที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปินที่เราชื่นชม คงนับเป็นเป้าหมายและความสุขอย่างหนึ่งของผู้สะสมงานศิลปะ อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Art Money กำลังริเริ่มโครงการสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยสำหรับงานศิลปะ เพื่อให้การซื้อขายผลงานศิลปะเป็นไปอย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น การได้สะสมผลงานที่มีจำนวนหลากหลายชิ้นอาจจะยังยากในความเป็นจริงอยู่ดี 


และสำหรับนักสะสมท่านใดที่เริ่มสนใจในการครอบครองงานศิลปะ การซื้อผลงานจริงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นเจ้าของงานศิลปะอย่างเต็มตัว และสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการสะสมงานคงหนีไม่พ้นการมีประกันงานศิลปะ เนื่องจากประกันงานศิลปะจะทำให้ผู้ครอบครองนั้นมั่นใจได้ว่าตนสามารถนำงานศิลปะไปซ่อมแซมได้หากงานได้รับความเสียหาย หรือได้รับค่าชดเชยบางประเภทถ้าหากผลงานสูญเสียทั้งหมด 


วันนี้ West Eden จึงได้นำ 5 ข้อควรรู้ที่ได้จากบทสนทนาระหว่าง Robert Pittinger รองประธานอาวุโสและผู้อำนวยการฝ่ายจัดจำหน่ายของ AXA Art Americas Corporation ที่พูดคุยกันในหัวข้อเรื่องการประกันภัยงานศิลปะที่ควรรู้ มาแบ่งปันนักสะสมทุกท่าน


  1. รู้จักกระบวนที่เกิดขึ้นของการทำประกันภัยสำหรับงานศิลปะ


นักสะสมส่วนมากมักจะสับสนระหว่างบทบาทของนายหน้าและบริษัทที่ดูแลด้านกรมธรรม์ เนื่องจากเมื่อซื้อผู้สะสมตัดสินใจซื้อประกันภัยสำหรับงานวิจิตรศิลป์แล้ว พวกเขาจะทํางานโดยตรงกับนายหน้าที่สามารถประเมินคอลเล็กชันและกําหนดกรมธรรม์ที่นักสะสมมองหาได้ และในขณะเดียวกัน นายหน้ารายนั้นได้ทํางานร่วมกับบริษัทประกันภัยเพื่อค้นหาสิ่งที่เหมาะสมเช่นกัน นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญในการทำความเข้าใจว่า บทบาทของนายหน้าและผู้ดูแลกรมธรรม์ทางศิลปะนั้นทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม แต่ละบทบาทนั้นก็มีความแตกต่างกันไป นายหน้าที่ดูแลเฉพาะทางด้านงานศิลปะถือเป็นผู้ดูแลที่จะทำให้นักสะสมได้รับเงื่อนไขและหลักกรมธรรม์ที่ดีที่สุด

 

 

  1. การรวมรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลงาน


ขั้นตอนแรกสู่การทำหลักประกันภัยคงเป็นเรื่องอื่นไม่ได้นอกเหนือจากการพิจารณาว่าจะประกันอะไร รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ ด้วยเหตุนี้ การมีเอกสารและข้อมูลสิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ Pittinger ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “หนึ่งในสิ่งที่สำคัญนั่นคือ นักสะสมจำเป็นต้องเก็บรวมรวบเอกสารทั้งหมดก่อนพบกับนายหน้า เนื่องจากนายหน้าจะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับราคาของคอลเลคชั่นศิลปะ” 


มากไปกว่านั้น เขายังได้เสริมว่า นักสะสมควรมีรายละเอียดของผลงานอย่างครบถ้วน ทั้งคำอธิบาย ใบกำกับสินค้าราคาขาย วันที่ซื้อ รวมไปถึงราคาประเมินที่ต่อมา โดยเขาได้ให้เหตุผลกำกับว่า ไม่ว่านักสะสมจะมีระบบการจัดการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ สเปรตชีท หรือผ่านคู่มือพร้อมเอกสาร การจัดการเหล่านี้ของผู้สะสมสิ่งของนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการซื้อประกัน



  1. ประเมินความต้องการและตัวเลือกในการทำประกันภัย


ข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งสําคัญที่นักสะสมจะต้องเตรียมมอบให้แก่นายหน้า เพื่อให้พวกเขาสามารถกําหนดได้ว่าประกันใดดีที่สุดสําหรับนักสะสมแต่ละคน อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักสะสมส่วนใหญ่ที่ต้องการหลักกรมธรรม์จะมีอยู่แล้ว นักสะสมบางท่านได้คิดว่าพวกเขาได้รับจากคุ้มครองโดยประกันภัยบ้าน ( homeowners insurance) แต่ Pittinger ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ประภัยบ้านโดยทั่วไปมักเป็นการคุ้มครองแบบที่ผู้ซื้อต้องเพิ่มสิ่งที่ตัวเองต้องการเข้าไป และมักจะไม่ลงรายละเอียดที่แน่ชัดสำหรับการกรมธรรม์งานศิลปะ หรือในทางกลับกันการประกันภัยบ้านที่ครอบคลุมงานศิลปะอาจมีค่าเสียหายส่วนแรกสูง และอาจไม่ครอบคลุมคอลเลกชันในบ้านหลายหลัง หรืออาจไม่ครอบคลุมงานระหว่างการขนส่ง สิ่งการขนส่งนั้นเป็นสิ่งที่นักสะสมควรใส่ใจเป็นพิเศษ Pittinger ได้เสริมว่า “ทุกครั้งที่นักสะสมย้ายงานศิลปะของพวกเขา มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น” และนั่นคือสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียสำหรับการประกันภัยศิลปะ


ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทําไม Pittinger จึงแนะนําการประกันภัยศิลปะเฉพาะทาง สําหรับการสะสมขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ชิ้น แม้แต่งานที่มีราคาต่ํากว่าและคอลเล็กชั่นที่เกิดขึ้นใหม่ก็สามารถรับประกันได้
สําหรับผลงานที่มีราคาต่ํากว่า 2,500 ดอลลาร์ บริษัท AXA ได้เสนอกรมธรรม์สำหรับ 12 เดือนที่ 75 ดอลลาร์พร้อมเบี้ยประกันภัยขั้นต่ํา อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว การกำหนดให้แน่ชัดว่าค่าประกันงานศิลปะจะมีมูลค่าเท่าไหร่นั้นเป็นสิ่งที่ยากและขึ้นอยู่กับหลากปัจจัยเกินไป มากไปกว่านั้น Pittinger ได้เพิ่มเติมไว้ว่า “ช่วงราคาที่แตกต่างกันไปจะขึ้นอยู่กับประเภทของผลงาน ขนาดของคอลเล็กชัน ความปลอดภัย สถานที่จัดเก็บ ไม่ว่าจะเป็นในโกดังจัดเก็บวิจิตรศิลป์ บ้านของนักสะสม หรือในพิพิธภัณฑ์ ปัจจัยทั้งหมดเหล่านั้นส่งผลต่อการกําหนดราคาของคอลเล็กชันงานศิลปะทั้งหมด”

 

 

  1. คอยติดตามข้อมูลและระวังตัวอยู่เสมอ


โดยทั่วไปแล้ว ในกรณีที่มีความเสียหาย กรมธรรมประกันภัยจะชดเชยค่าเสียหายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจากสองวิธีนี้ วิธีแรกคือการที่กรมธรรม์จะจ่ายค่าเสียหายตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ระหว่างผู้ประกันภัยและผู้ดูแล และวิธีที่สองนั่นคือการที่กรมธรรม์จะจ่ายค่าเสียหายโดยอ้างอิงจากมูลค่าของผลงานในตลาด ณ ขณะนั้น Pittinger กล่าวว่า เหตุผลที่นักสะสมเลือกวิธีแรกหรือการจ่ายเงินตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอาจเป็นเพราะความอุ่นใจที่ทำให้พวกเขา “ไม่ต้องกังวลกับการติดตามมูลค่าของผลงาน” และในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น มูลค่าที่ตกลงกันไว้ยังสามารถปรับขึ้นหรือลงตลาดอายุของกรมธรรม์ หากนักสะสมท่านใดตัดสินใจที่จะประเมินงานใหม่


อย่างไรก็ตาม การทำกรมธรรม์โดยอ้างอิงจากมูลค่าปัจจุบันนั้นมีผลเสียในเรื่องของข้อจำกัด เนื่องจากบริษัทจะไม่จ่ายเงินมากกว่ารายละเอียดที่มีให้แต่แรก ถึงแม้ว่ามูลค่าของผลงานปัจจุบันจะสูงกว่าจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หากการเรียกเก็บเงินมีการประกันรวม 10 ล้านดอลลาร์ แต่งานศิลปะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากและได้รับความเสียหายเกิน 10 ล้านดอลลาร์ ประกันจะยังคงไม่จ่ายมากกว่ายอดรวม

 

 

  1. เป็นนักสะสมที่ชาญฉลาด


ประการสุดท้ายที่สำคัญไม่ต่างจากเรื่องอื่นเลยนั่นคือการ ‘ค้นคว้าให้ละเอียด’ เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเราได้รับรายงานสภาพฉบับเต็มก่อนซื้อผลงานศิลปะ แหล่งที่มาของผลงานแต่ละชิ้นนั้นเป็นสิ่งที่นักสะสมทุกท่านควรใส่ใจและตรวจทานให้แน่ชัด เพื่อให้ตนเองมั่นใจว่าไม่มีช่องว่างที่จะทำให้เราต้องสูญเสียผลงานของเราในภายหลัง เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว การทำประกันภัยจะไม่ครอบคลุมปัญญางานศิลปะที่ถูกยึดหรือถูกโจรกรรม อย่างไรก็ตาม มีบริษัทประกันเฉพาะทางบางแห่งที่จะปกป้องความสูญเสียดังกล่าวด้วยสิ่งที่เรียกว่า ประกันชื่อ (title insurance) ดังนั้น เมื่อพูดถึงเรื่องการทำประกันงานศิลปะแล้ว ผู้ซื้อผลงานศิลปะควรที่จะมีความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา

 
 
Image  ©  mtab.eu

Add a comment