เคล็ดลับสำหรับนักสะสมงานศิลป์หน้าใหม่ในการประมูลงานศิลปะ

March 18, 2024
Image  ©  Sotheby's
Image © Sotheby's

เคล็ดลับสำหรับนักสะสมงานศิลป์หน้าใหม่ในการประมูลงานศิลปะ

หากมองจากมุมมองของนักสะสมงานศิลปะมือใหม่หรือมืออาชีพ “การประมูล” ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมในการก้าวเข้าสู่โลกและตลาดศิลปะ นอกจากการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการประมูลออนไลน์แล้ว จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของการซื้องานศิลปะผ่านการประมูลคือความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผ่านแค็ตตาล็อกและคลังข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ทางออนไลน์ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับงานศิลปะและที่มา ประวัติการจัดแสดง และข้อมูลสำคัญอย่างราคาและสภาพของแต่ละชิ้น


อย่างไรก็ตาม การสะสมงานศิลปะผ่านการประมูลยังคงจำเป็นที่นักสะสมต้องมีความรู้พื้นฐานบางประการ West Eden Gallery จึงได้รวบรวมคำแนะนำสำคัญเพื่อช่วยให้นักประมูลที่สนใจในงานศิลปะและนักสะสมที่มีความเชี่ยวชาญมองเห็นแนวทางในการเลือกประมูลงานในอนาคต

 

 

ผู้ประมูลควรรู้ว่าตนเองกำลังมองผลงานชิ้นใดอยู่

หากพบเห็นผลงานที่ถูกใจเป็นพิเศษในการประมูล เป็นเรื่องปกติที่ผู้คนจะรีบยกป้ายประมูลขึ้นสูงในทันที หลายคนมีความเข้าใจว่าการซื้องานศิลปะควรทำด้วยใจที่รักในผลงาน และไม่ควรไตร่ตรองมากเกินไป อย่างไรก็ตาม การซื้อและสะสมผลงานโดยการศึกษาอย่างละเอียดอาจทำให้ผู้สะสมมีความสุขมากกว่า สิ่งสำคัญคือผู้ร่วมประมูลควรมีความเข้าใจว่าตนเองกำลังมองผลงานอะไรอยู่ ศิลปินผู้สร้างผลงานมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร รวมถึงที่มาที่ไปของราคาผลงานศิลปะชิ้นที่นักสะสมกำลังสนใจอยู่ แม้ว่าการประมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่หากผู้ร่วมประมูลละเลยรายละเอียดที่กล่าวมานี้ อาจนำไปสู่ความเสียดายในภายหลังได้

 

 Prints and Multiples, New York 2024  ©  Sotheby's

 

อ่านรายละเอียดของชิ้นงานทุกครั้งและอย่าลังเลที่สอบถามหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ผลงานศิลปะส่วนใหญ่ที่ปรากฎในการประมูลมักจะมาจากตลาดรอง (secondary market) ซึ่งความหมายว่า ผลงานชิ้นนั้นเคยผ่านการเป็นเจ้าของของคนอื่นมาก่อน ซึ่งที่มาของผลงานผลปะชิ้นนั้นอาจมีส่วนทำให้ความคุณค่าและมูลค่าของผลงานศิลปะเพิ่มขึ้นได้หากเจ้าของผลงานก่อนหน้านั้นเป็นนักสะสมหรือสถาบันที่มีชื่อเสียง


ผลงานศิลปะส่วนใหญ่ที่ปรากฏในการประมูลมักมาจากตลาดรอง (Secondary Market) ซึ่งหมายความว่าผลงานชิ้นนั้นเคยผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาก่อน ที่มาของผลงานชิ้นนั้นอาจมีส่วนทำให้คุณค่าและมูลค่าของงานศิลปะเพิ่มขึ้นได้ หากเจ้าของผลงานก่อนหน้านั้นเป็นนักสะสมหรือสถาบันที่มีชื่อเสียง


ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการประมูลผลงานศิลปะของจิตรกรชาวฝรั่งเศส เอดัวร์ วุยยาร์ (Édouard Vuillard) ที่มีชื่อผลงานว่า Intimité (1896) โดยผลงานนี้มาจากคอลเลคชันที่โด่งดังของ Paul และ Rachel Lambert “Bunny” Mellon และถูกเสนอขายโดยบริษัทประมูลผลงานศิลปะชั้นนำอย่าง Sotheby


นอกเหนือจากความโดดเด่นของผลงาน Intimité (1896) ของวุยยาร์แล้ว ผลงานชิ้นนี้ยังถูกประมาณราคาไว้ที่ 500,000 ถึง 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่สุดท้ายแล้ว ผลงานชิ้นนี้ถูกปิดการประมูลด้วยมูลค่าสูงถึง 3.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า นอกจากความกระตือรือร้นในการครอบครองผลงานศิลปะชิ้นนี้ของผู้ประมูลแต่ละท่านแล้ว ผลงานศิลปะชิ้นนี้ยังสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของประวัติและที่มาของผลงาน เนื่องจากงานศิลปะทุกชิ้นล้วนมีประวัติของตนเอง


แหล่งประมูลที่มีชื่อเสียงจะทำการตรวจสอบผลงานศิลปะก่อนที่จะนำไปประมูล แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักประมูลในการค้นคว้าข้อมูลและศึกษาด้วยตนเองเช่นกัน เนื่องจากความเสียหายที่ไม่พบเจอบ่อยอาจจะเกิดขึ้นได้และไม่ปรากฏในภาพถ่ายของผลงานชิ้นนั้นๆ

 

 

Prints and Multiples, New York 2024  ©  Sotheby's

 

สำหรับรายงานสภาพของผลงานศิลปะ โดยปกติแล้วผู้จัดประมูลจะมีจัดเตรียมรายงานสภาพของผลงานให้แก่ผู้เข้าร่วมประมูลทุกท่าน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประมูลที่จะเปิดอ่าน อย่างไรก็ตาม หากเราไม่เห็นข้อมูลเหล่านั้น เราไม่ควรลังเลที่จะถามถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลงานที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องราว ผู้ประมูลควรที่จะได้รับเอกสารรับรองผ่านช่องทางที่เหมาะสมอยู่เสมอ และถ้าหากผลงานชิ้นที่ผู้ประมูลสนใจไม่ได้รวมอยู่ในหนังสือรวมงานของศิลปิน ไม่มีใบรับรองผลงาน และไม่ได้ถูกเผยแพร่ผ่านหนังสือสำหรับการจัดนิทรรศการ ผู้ประมูลควรตั้งข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นอย่างนั้น 


อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เข้าร่วมประมูลควรกังวลมิใช่ผลงานศิลปะที่ผลิตโดยศิลปินสมัยใหม่ที่ยังไม่มีใบรับรอง แต่เป็นการที่ผลงานชิ้นนั้นควรที่จะถูกรับรอง แต่ไม่ได้รับการรับรองในท้ายที่สุด

 

 

ไม่ต้องกังวลและประหม่า

ความประหม่าและความเคร่งเครียดเป็นความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เพิ่งเข้าสู่วงการประมูล เนื่องจากห้องประมูลมักเต็มไปด้วยผู้เสนอราคาที่มีประสบการณ์หลากหลาย


อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรวิตกกังวล ผู้จัดการประมูลจะไม่เข้าใจผิดว่าการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นทางการเป็นการเสนอราคา ผู้คนมักเข้าใจผิดว่าไม่ควรเกาหัวหรือยกมือสูงกว่าระดับไหล่ เนื่องจากอาจทำให้เข้าใจผิดว่าต้องการเสนอราคา แต่ในความเป็นจริง หากผู้จัดการประมูลสังเกตหรือสงสัยว่าผู้เข้าร่วมประมูลต้องการเสนอราคา พวกเขาจะสอบถามผู้เข้าร่วมประมูลโดยตรง

 

 The Iconic Treasure Auction  ©  Bangkok Art Auction

 

มารยาทพื้นฐานที่ควรรู้สำหรับการประมูล

เนื่องจากการประมูลออนไลน์บางครั้งอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการประมูลแบบสด แม้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลจะเข้าร่วมการประมูลแบบออนไลน์ พวกเขาก็ยังต้องตระหนักว่าตนเองเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมประมูลทั้งหมด และเนื่องจากการประมูลทั้งสองประเภทเกิดขึ้นพร้อมกัน ผู้ดำเนินการประมูลจึงต้องดูแลผู้เข้าร่วมประมูลในทั้งสองประเภท จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เข้าร่วมประมูลออนไลน์ต้องอดทน

 

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการเคารพผู้ดำเนินการประมูลเมื่อต้องการเสนอราคา กล่าวโดยง่ายคือ หากมูลค่าของล็อตในการประมูลอยู่ที่ 50,000 ดอลลาร์ การเสนอราคาครั้งต่อไปควรเป็นการเสนอราคาที่ 55,000 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม หากผู้เข้าร่วมประมูลต้องการเสนอราคาที่ต่ำกว่าปกติ ผู้เสนอราคาสามารถขอให้ผู้ดำเนินการประมูลพิจารณาในจำนวนเงินที่ต่ำกว่าได้เช่นกัน


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ดำเนินการประมูลสามารถยอมรับราคาที่ต่ำกว่าปกติจากผู้เข้าร่วมประมูลได้ แต่การตัดสินใจดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้ได้กับการประมูลทั้งหมด เนื่องจากอาจทำให้การประมูลดำเนินไปอย่างล่าช้าได้

 

 

การประมูลเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ดีในการชื่นชมงานศิลป์

ในขณะที่หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งที่ยอดเยี่ยมในการทำความคุ้นเคยกับงานศิลปะประเภทต่างๆ สถานที่จัดการประมูลจะช่วยให้นักสะสมงานศิลปะได้รับความรู้เกี่ยวกับผลงานและสามารถเตรียมพร้อมกับการประมูลได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตหรือศึกษาด้วยตนเอง ปัจจุบันนี้ การซื้อขายงานศิลปะร่วมสมัยเกิดขึ้นหลายครั้งต่อปี ไม่ใช่เพียงแค่การประมูลครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีและปลายปี และผู้ที่สนใจไม่จำเป็นต้องมีการนัดหมายเพื่อเข้าชมการแสดงตัวอย่างของผลงานชิ้นที่ตนเองสนใจ

 

Phillips Asia Headquarters  ©  Phillips

 

สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจในงานศิลปะที่จะเข้ามาชมผลงานศิลปะ รวมถึงการพูดคุยกับผู้ที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะจากแขนงนี้ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจกลไกตลาดศิลปะได้ง่ายขึ้น มากไปกว่านั้น แม้ผู้ที่สนใจในงานศิลปะสามารถเข้าชมนิทรรศการผ่านพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ได้ สถานที่เหล่านี้มักจะไม่แสดงมูลค่าของผลงานให้ผู้เข้าชมรับทราบ ต่างจากสถานที่จัดการประมูลที่จะมีข้อมูลและราคาโดยประมาณของงานศิลปะทุกชิ้น

 

 

การประมาณมูลค่าของผลงานศิลปะในงานประมูล

การกำหนดมูลค่าโดยประมาณของงานศิลปะแต่ละชิ้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน หลายคนมักเข้าใจผิดว่าผู้จัดการประมูลตั้งราคาของงานโดยดูจากราคาในอดีตของงานเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้จัดการประมูลต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทอดผ่านงาน สภาพของงานศิลปะ และแนวโน้มของตลาดศิลปะ รวมถึงราคาของงานจากตลาดรอง การแวดล้อมด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโลกศิลปะร่วมสมัยช่วยให้ผู้จัดการประมูลประเมินมูลค่าของงานศิลปะได้อย่างแม่นยำและเหมาะสมยิ่งขึ้น

 

 Contemporary Edition: New York  ©  Christie's

 

โดยทั่วไปแล้ว บ้านประมูลจะกำหนดมูลค่าของงานให้เหมาะสมเพื่อดึงดูดผู้เข้าร่วมการประมูลและผู้ขายงานผ่านการประมูลโดยพิจารณาจากมุมมองของผู้ซื้อที่สมเหตุสมผล เนื่องจากในฐานะผู้เข้าร่วมการประมูลหรือผู้ซื้อ เรามักมีแนวโน้มที่จะครอบครองงานที่เราชื่นชอบเป็นพิเศษและมีราคาที่เหมาะสม การประมาณราคาที่สูงเกินจริงอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของการขายได้ เพราะการตั้งราคาที่สูงเกินไปอาจทำให้ผู้ที่สนใจในงานชิ้นนั้นหมดความสนใจไปเลย


หากมองจากมุมมองของนักสะสม การซื้อในการประมูลมักจะคุ้มค่ากว่าการซื้อจากแหล่งอื่น เนื่องจากสถานการณ์บางอย่าง เช่น การเสียชีวิต หนี้สิน หรือการหย่าร้าง อาจส่งผลให้งานศิลปะชิ้นนั้นมีราคาลดลงในการประมูลได้เช่นกัน









Add a comment