• Image © Sotheby's
    Image © Sotheby's
  • 5 สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการประกันภัยงานศิลปะที่นักสะสมทุกคนควรรู้
  • AP หรือ Artist Proof คืออะไร และทำไมจึงมีมูลค่ามากกว่าผลงานศิลปะธรรมดา ?

    AP หรือ Artist Proof คืออะไร  และทำไมจึงมีมูลค่ามากกว่าผลงานศิลปะธรรมดา ?


    ในโลกปัจจุบัน ผลงานศิลปะฉบับพิมพ์ค่อย ๆ เริ่มเป็นที่ชื่นชอบในตลาดศิลปะมากขึ้น เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งทางเลือกนอกจากการสะสมต้นฉบับ อย่างไรก็ถาม ผู้ที่เพิ่งเริ่มก้าวเข้าสู่โลกการสะสมงานศิลปะอาจจะยังไม่แน่ใจหรือกังวลว่าผลงานฉบับพิมพ์ชิ้นนั้น ๆ เป็นผลงานที่แท้จริงหรือไม่  ซึ่ง AP หรือ Artist Proof จึงกลายเป็นหลักการหนึ่งที่น่าสนใจ ที่สามารถยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่าชิ้นงานนั้น ๆ ถูกผลิตขึ้นโดยศิลปินท่านนั้น ๆ อย่างแท้จริง มากไปกว่านั้น สิ่งนี้ยังเป็นจุดเพิ่มมูลค่าในตัวงานอีกด้วย สำหรับผลงานจากศิลปินชื่อดังมากมาย การมีผลงานพร้อมที่กำกับ AP อาจมีทำให้ชิ้นงานมีมูลค่าไม่น้อยไปกว่างานศิลปะต้นฉบับเลยทีเดียว
     
    Tom Potisit
    BIRTH, DEATH, REBIRTH, 2019
    Archival print diptych, with frame
    118 x 155 cm
    Edition : 1/3 AP: 1


    AP คืออะไร ?

     

    บางคนอาจสงสัยว่าตัวอักษร ‘AP’ ที่อยู่บริเวณด้านล่างของรูปภาพหรือผลงานของศิลปินบางชิ้นคืออะไร ซึ่ง ‘AP’ เป็นคำศัพท์ในแวดวงศิลปะถูกย่อจากคำว่า ‘Artist’s Proof’ ที่มีหมายความว่าชิ้นงานนั้นได้ผ่านการตรวจสอบและถูกรับรองโดยศิลปินอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม งานที่มีเครื่องหมาย AP มักจะเป็นชิ้นงานที่พิมพ์ออกมามากกว่าหนึ่งฉบับ แต่ก็มีจำนวนจำกัด (limited edition) เช่นกัน


    ในการสร้างภาพพิมพ์ขึ้น ศิลปินมักจะต้องทำงานร่วมกับโรงพิมพ์หรือผู้ผลิตภาพพิมพ์ เมื่อผลงานได้คุณภาพตามที่ศิลปินต้องการ งานพิมพ์ดังกล่าวจะถูกเรียกว่า Artist Proofs (หรือ APs) ซึ่งเป็นเหมือนงานต้นแบบที่โรงพิมพ์หรือผู้พิมพ์จะต้องยึดตาม เพื่อให้งานพิมพ์ฉบับอื่น ๆ ออกมาเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งงานที่เป็น AP จะมีลักษณะบางประการที่ต่างจากฉบับพิมพ์อื่น ๆ แต่หากย้อนไปในอดีต งาน AP มักจะมีคุณภาพมากกว่างานฉบับพิมพ์ เนื่องจากแท่นพิมพ์จะสึกหรอไปตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ แต่ในปัจจุบันงาน AP กับงานพิมพ์ฉบับอื่นๆ แทบจะคล้ายกันจนแยกไม่ออก  หลังจากที่มี Artist’s Proof เรียบร้อยแล้ว การผลิตฉบับพิมพ์อื่นก็จะเริ่มขึ้น 


    ส่วนที่สำคัญที่สุดของผลงาน AP นั่นคือ ผลงานเหล่านี้เปรียบได้เหมือนชิ้นงานทดลองที่ผ่านตรวจสอบโดยศิลปิน ศิลปินจะเป็นคนเก็บผลงานเหล่านี้ไว้เอง ไม่ได้จำหน่ายพร้อมกับฉบับพิมพ์อื่นๆ หลังจากนั้น  คล้ายกับเป็นคอลเลคชั่นส่วนตัวของพวกเขา สำหรับศิลปินชาวฝรั่งเศสบางท่านอาจจะมีการใช้อักษร ‘EA’ ที่ย่อมากจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า ‘Epreuve D’Artiste’ ที่มีความหมายว่า Artist’s Proof เช่นกัน โดยสัญลักษณ์ AP นั้นสามารถนำไปใช้ได้กับผลงานทุกประเภทที่มีการผลิตซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นผลงานประเภทภาพถ่าย ภาพวาด หรือแม้แต่ชิ้นงานประติมากรรม



    Sophirat Muangkum
    Rhythm of nature #3, 2019
    Print on Illford lustre
    Size: 99 x 68.5 cm
    Edition : 1/3 AP: 1

    ทำไมผลงาน AP จึงมีมูลค่ามากกว่างานพิมพ์ฉบับปกติ ?

     

    จากที่ได้กล่าวว่าในปัจจุบันคุณภาพและรายละเอียดของ ผลงาน AP กับงานฉบับพิมพ์นั้นไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่ในตลาดศิลปะ ผู้สะสมมักต้องการงาน AP มากกว่างานฉบับพิมพ์ทั่วไป เนื่องจากเหตุผลที่ต่างกันไป เช่น ความชอบ ความหายาก เรื่องราวเบื้องหลังชิ้นงาน เป็นต้น 


    1. ความโดดเด่น

     

    หากนักสะสมท่านไหนที่ต้องการเพิ่มความโดดเด่นให้กับคอลเลคชั่นงานสะสมของตนเอง ผลงาน AP นั้นเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์อย่างยิ่ง เนื่องจากผลงาน AP จะมีความแตกต่างและโดดเด่นไปจากผลงานฉบับปกติของศิลปิน ทั้งในส่วนรายละเอียดที่เขียนด้วยลายมือหรือจะเป็นสีสันของผลงาน มากไปกว่านั้นแล้ว นักสะสมมากประสบการณ์หลายท่านมีความเห็นว่า ผลงาน AP ถือเป็นผลงานฉบับที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด และยังมีคุณภาพดีที่สุดด้วยเช่นกัน


    1. ความหายาก

     

    เนื่องด้วยงานพิมพ์ส่วนใหญ่ที่มีมูลค่าสูง มักจะเป็นงาน Limited edition อยู่แล้ว แต่งาน AP นั้นมีความหายากกว่างานพิมพ์เสียอีก ซึ่งโดยปกติแล้ว ผลงาน AP จะมีเพียง 10% ของการทำฉบับพิมพ์เท่านั้น และมักจะไม่มีการวางขายลงบนตลาดศิลปะอีกด้วย เนื่องจากศิลปินมักจะเก็บผลงานที่ไว้ตนเอง ซึ่งจะมีการวางขายลงตลาดหลังจากศิลปินจากไปแล้ว หรือบางทีครอบครัวจะเป็นผู้ขายผลงานของศิลปินท่านนั้น ด้วยเหตุผลนี้ งาน AP จึงถือว่าเป็นงานที่มีมูลค่าสูงในตลาดศิลปะ เนื่องจากเป็นชิ้นงานที่ผลิตออกมาในจำนวนที่จำกัด และยังหายากอีกด้วย 


    1. เรื่องราวเบื้องหลังชิ้นงาน 

     

    หากเปรียบเทียบกับงาน  Limited edition  แล้ว ชิ้นงาน AP มักจะเป็นชิ้นงานที่มีคุณค่าทางจิตใจ และมีเรื่องราวต่อตัวศิลปินมากกว่างานพิมพ์ฉบับปกติ เนื่องจากผลงาน AP นั้นเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มทำฉบับพิมพ์อีกหลากหลายฉบับ และศิลปินจะเป็นผู้เก็บผลงาน AP ไว้เอง คล้ายกับเป็นสมบัติ และความทรงจำที่ล้ำค่าของศิลปินท่านนั้น ๆ   มากกกว่านั้น ผลงาน AP มักจะไม่มีการขายลงในตลาดศิลปะเหมือนกับผลงานฉบับพิมพ์ ด้วยเหตุนี้ การที่ได้ครอบครองผลงาน AP จึงคล้ายกับการได้รับผลงานมาจากศิลปินโดยตรง และในผลงาน AP ศิลปินมักจะแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินลงบนชิ้นงานอีกด้วย อย่างเช่นการใส่รายละเอียดเพิ่มเติมด้วยลายมือของศิลปินเอง รายละเอียดที่มีเอกลักษณ์เช่นนี้คือสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ของศิลปินกับชิ้นงานของศิลปินเอง 




    Pittaya Nontapaoraya
    Untitled No. 3, 1993
    Archival pigment ink print
    10 x 8 inches
    Edition: 1/3 AP: 1
     
  • Works on paper คืออะไร และทำไมถึงควรค่าแก่การสะสม?

     

    คงไม่เกินจริงหากจะกล่าวว่า ‘ศิลปินทุกคนล้วนมีผลงานที่สร้างสรรค์บนแผ่นกระดาษ’ เพราะไม่ว่าจะเป็นการร่างภาพวาด การวาดลายเส้น หรือการระบายสี ล้วนเกิดจากการสร้างสรรค์ลงบนแผ่นกระดาษทั้งนั้น Works on paper ไม่ใช่แค่การวาดภาพ หรืองานใดที่ทำบนกระดาษเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงคอลลาจ ภาพถ่าย สีน้ำ ภาพพิมพ์ งานแกะสลัก และอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ชมและผู้สะสมเช่นกัน เพราะกระดาษก็เป็นสื่อแรก ๆ ที่คนส่วยมากคุ้นเคยตั้งแต่วัยเยาว์ กระดาษจึงยังคงเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้คนและทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุดสื่อหนึ่ง รวมทั้งเชื่อมโยงกับความสร้างสรรค์ของศิลปินอีกด้วย